จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลก
|
เดอะบลูมาร์เบิล, ถ่ายจากยานอะพอลโล 17 |
สถิติทางสังคมมนุษย์ |
พื้นที่เมืองที่มีประชากรมากที่สุด |
โตเกียว, เม็กซิโกซิตี, โซล, นิวยอร์ก, เซาเปาลู, มุมไบ |
ภาษา (ประมาณการ พ.ศ. 2543) |
จีนกลาง 14.37%, ฮินดี 6.02%, อังกฤษ 5.61%, สเปน 5.59%, เบงกาลี 3.4%, โปรตุเกส 2.63%, รัสเซีย 2.75%, ญี่ปุ่น 2.06%, เยอรมัน 1.64%, เกาหลี 1.28%, ฝรั่งเศส 1.27%, ภาษาอื่น ๆ |
ศาสนา (ประมาณการ พ.ศ. 2543) |
คริสต์ 32.71%, อิสลาม 19.67%, ฮินดู 13.28%, พุทธ 5.84%, ไม่นับถือศาสนาใด 14.84%, ศาสนาอื่น ๆ 13.05% |
ประชากร (ประมาณการ 9 มี.ค. 2548) |
- ทั้งหมด |
6,423,457,263 คน |
สกุลเงิน |
ดอลลาร์สหรัฐฯ, เยนญี่ปุ่น, ยูโร, ปอนด์สเตอร์ลิง, อื่น ๆ |
จีดีพี (ประมาณการ พ.ศ. 2546) |
-PPP |
51,656,251,000,000 IND |
ต่อหัว |
8,236 IND |
-Nominal |
36,356,240,000,000 USD |
ต่อหัว |
5,797 USD |
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร (จุดเริ่มยุค J2000) |
กึ่งแกนเอก |
149,597,887 km (1.000 000 11 หน่วยดาราศาสตร์) |
เส้นรอบวงของวงโคจร |
0.940 Tm (6.283 หน่วยดาราศาสตร์) |
ความเยื้องศูนย์กลาง |
0.016 710 22 |
จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด |
147,098,074 km (0.983 289 9 หน่วยดาราศาสตร์) |
จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด |
152,097,701 km (1.016 710 3 หน่วยดาราศาสตร์) |
คาบการโคจร |
365.256 96 วัน (1.000 019 1 ปีจูเลียน) |
คาบซินอดิก |
n/a |
อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร |
29.783 km/s |
อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร |
30.287 km/s |
อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร |
29.291 km/s |
ความเอียง |
0.000 05° (7.25° กับระนาบศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) |
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น |
348.739 36° |
ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด |
114.207 83° |
จำนวนดาวบริวาร |
1 (ดวงจันทร์), แต่ดู ดาวเคราะห์น้อย 3753 ครูอีนยา ด้วย |
|
ลักษณะเฉพาะทางภายภาพ |
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร |
12,756.28 km |
เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้ว |
12,713.56 km |
เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย |
12,742.02 km |
ความแป้น |
0.003 35 |
เส้นรอบวงตามแนวศูนย์สูตร |
40,075 km |
เส้นรอบวงตามแนวขั้ว |
40,008 km |
พื้นที่ผิว |
510,067,420 km² |
ปริมาตร |
1.0832×1012 km³ |
มวล |
5.9736×1024 kg |
ความหนาแน่น |
5.515 g/cm³ |
ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร |
9.780 m/s² 1 (0.997 32 จี) |
ความเร็วหลุดพ้น |
11.186 km/s |
คาบการหมุนรอบตัวเอง |
0.997 258 วัน (23.934 ชั่วโมง) |
ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง |
1674.38 km/h = 465.11 m/s (ที่เส้นศูนย์สูตร) |
ความเอียงของแกน |
23.439 281° |
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ |
0° (0 ชั่วโมง 0 นาที 0 วินาที) |
เดคลิเนชัน |
90° |
อัตราส่วนสะท้อน |
0.367 |
อุณหภูมิพื้นผิว - ต่ำสุด - ปานกลาง - สูงสุด |
185 K (-88 C) 287 K (14 C) 331 K (58 C) |
ความกดบรรยากาศพื้นผิว |
100 kPa |
|
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ |
ไนโตรเจน |
77% |
ออกซิเจน |
21% |
อาร์กอน |
1% |
คาร์บอนไดออกไซด์ |
เบาบาง |
ไอน้ำ |
เบาบาง |
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา
สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: ⊕ หรือ ♁)
โครงสร้างและองค์ประกอบ
รูปร่าง
โลกมีรูปทรงคล้ายทรงกลมแบนขั้ว หมายความว่ามีรูปทรงคล้ายทรงกลม แต่บริเวณขั้วโลกทั้งสองแบนเล็กน้อย และโป่งออกทางเส้นศูนย์สูตร ความยาวรอบโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12,700 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกคือยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกคือร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากโลกมีลักษณะโป่งออกทางตอนกลางคือเส้นศูนย์สูตร ทำให้จุดที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางโลกคือยอดเขาชิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์[1]
โครงสร้าง
เปลือกโลก
เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
- ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
- ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล
แมนเทิล
แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์
[แก้] แก่นโลก
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
- แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
- แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0
สภาพบรรยากาศ
สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
- โทรโพสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 0-10 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยกาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา
- สตราโตสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 10-35 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลื่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฟุ่นเพิ่มมาเล็กน้อย
- เมโสสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV)จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป
- ไอโอโนสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์
- เอกโซสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ
โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
วงโคจรและการหมุนรอบตัวเอง
โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน และ 365 วันในหนึ่งปี โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านไมล์ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 108,000 ไมล์ต่อชั่วโมง[2]
วงโคจรของดวงจันทร์ อยู่ห่างจากโลก 250,000 ไมล์ ดวงจันทร์จะหันพื้นผิวด้านเดียวเข้าหาโลกอยู่เสมอ และโคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน
โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ร่วมกับวัตถุขนาดเล็กกว่าพันชิ้น และดาวเคราะห์อีก 8 ดวง ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านส่วนแขนออริออน ดาราจักรทางช้างเผือก และจะเคลื่อนที่ครบรอบในอีก 10,000 ปีข้างหน้า[3]
-
การอยู่อาศัย
เป็นถิ่นที่อยู่เดียวในเอกภพที่ค้นพบสิ่งมีชีวิต กลุ่มประชากรที่มีมากที่สุด คือ แบคทีเรีย กลุ่มประชากรที่มีผลมากที่สุดถ้าหายไปจากโลก คือ พืช และกลุ่มประชากรที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมคือ ไพรเมต โดยกลุ่มนี้มีเพียงสายพันธุ์เดียวผลต่อโลกทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการทำลาย สภาพแวดล้อม คือ มนุษย์