ICTWATBURAPA.COM                                                                      ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดบูรพา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งที่ดีสู่ชุมชน                                                                                                                                                                                                                                         

 สถิติวันนี้ 8 คน
 สถิติเมื่อวาน 19 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
633 คน
9774 คน
130783 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

ประวัติ

  พระครูปริยัติพลากร


Link เครือข่าย

Fanpage:ศูนย์วัฒนธรรม      เฉลิมราชตำบลทุ่งแต้


       ห้องสมุดออนไลน์

เฉลิมราช


   โรงเรียนบ้านทุ่งแต้






  สินค้าโอท็อป    

มวยนึ่งข้าว



 



 

ประวัติ ความเป็นมาของชุมชน
                มีหลักฐานที่พอจะเชื่อถือได้ว่าเดิมตำบลทุ่งแต้ตั้งอยู่บริเวณบ้านโพนเขวา  ในตำบลขั้นไดใหญ่  ครั้งเมื่อสมัยพระวอพระตา  ให้ลูกหลานได้แก่ท้าวคำสิงห์                            

                                    เจ้าคำใส  เจ้าคำขุย  และเจ้าก่ำ   อพยพจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน  (หนองบัวลำภูปัจจุบัน)  เพื่อสร้างเมืองใหม่ตามลุ่มน้ำชี  เจ้าคำสู  ปกครองบ้านสิงห์ท่า

(ยโสธรปัจจุบัน)  เจ้าคำขุย  สร้างและปกครองบ้านสิงห์หินหรือสิงห์โคก (ตำบลสิงห์ปัจจุบัน) เจ้าคำสิงห์สร้างบ้านเมืองใหม่  และปกครองบริเวณอำเภอป่าติ้วปัจจุบัน 

ส่วนเจ้าก่ำปกครองบ้านโพธิ์ศรโพธิ์ไทร  ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอป่าติ้วเช่นกัน  ก่อนที่เจ้าทั้ง 4 ท่าน จะปกครองบ้านเมืองของตน  ก็ได้นำไพร่พลไปสร้างเมืองใหม่คือบ้านขั้นไดใหญ่  

และหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งคาดว่ามีบ้านโพนเขวา  เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งในสมัยนั้น  ระหว่าง พ.ศ. 2310-2318  ชาวบ้านอยู่กันอย่างสงบสุขเรื่อยมา
          
               จนกระทั่งเกิดเหตุอาเพศ  ศพตกจากโลงไปนอนที่พื้นดินขณะที่ชาวบ้านกำลังหามไปป่าช้า  ชาวบ้านตื่นตระหนก  และเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย  ที่จะเกิดภัยพิบัติทำให้ชาวบ้าน 

ล้มตายกันทั้งหมู่บ้าน จึงพากันอพยพไปหาที่แหล่งใหม่  โดยบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ  20   กิโลเมตรเศษ  ก็พบหนองน้ำที่มีดอกบัวขึ้นอยู่ 

 และได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณรอบ ๆ หนองบัวนั้น  แต่อยู่ได้ไม่นาน  เพราะการทำไร่  ทำนา  ไม่ได้ผลทำให้อดอยาก  จึงพากันคิดหาทำเลใหม่  การหาทำเลใหม่ครั้งนี้ก็มุ่งสู่ทิศใต้ระยะทางไม่ไกลนัก

 โดยมีพ่อใหญ่ลือ  คำหาญ  เป็นหัวหน้า  ก็พบหนองน้ำและมีป่า  “มะค่าแต้”  อยู่ทางทิศตะวันออก (คือหนองคำและดอนปู่ตาในปัจจุบัน) ทางทิศเหนือเป็นป่าบริเวณกว้างใหญ่มีหนองน้ำหลายแห่ง 

ตอนหลังหนองน้ำมีชื่อว่า “หนองตู๋”  “หนองต้อน”  และ  “หนองจั่น”  ด้านทิศตะวันออกก็มี  “หนองไผ่”   และ  “หนองหวาย”  ชาวบ้านเห็นว่าบริเวณนี้เป็นแห่งที่อุดมสมบูรณ์จึงตัดสินใจตั้งเป็นบ้านใหม่

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
              ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ขององค์บริหารส่วนตำบลท่งแต้ สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย   มีพื้นที่ป่าที่อยู่ในเขตป่าดงมะไฟและเขตป่าสงวน จำนวน 3,016

ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งได้ 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน หนาว

อาชีพของชุมชน
              อาชีพหลัก  เกษตรกรรม  ได้แก่  ทำนา  ทำสวน  ทำไร่


              อาชีพเสริม  หัตถกรรมเครื่องจักสาน   ได้แก่  กระติบข้าว  มวยนึ่งข้าว


              อาชีพอื่น ๆ เช่น  อาชีพที่ทำอยู่กับบ้านหรืออาชีพที่รับมาทำที่บ้าน ได้แก่ ค้าขาย เย็บผ้า ช่างประเภทต่าง ๆ เช่น ช่างไฟ ช่างซ่อมรถ ช่างก่อสร้าง

กลุ่มประเภทต่าง ๆ ในชุมชน

- กลุ่มแม่บ้านจักสาน                           - กลุ่มโรงสีข้าว                                    - กลุ่มสหกรณ์ ร้านค้า                        
- กลุ่มเงินออมสัจจะ                            - กลุ่มเงินล้าน                                      - กลุ่มผู้เลี้ยงโค
- กลุ่มแม่บ้านสายใยรัก
- กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 

สื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสารในชุมชน
- หอกระจายข่าวภายในแต่ละหมู่บ้าน
- วิทยุชุมชนตำบลทุ่งแต้

ผลิตภัณฑ์ / สินค้าเด่นดีของชุมชน
              มวยนึ่งข้าว

สถานที่ท่องเที่ยว สถานบริการในชุมชน
             ศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลทุ่งแต้ ตั้งอยู่ภายในวัดบูรพา บ้านทุ่งแต้

            

ประเพณี และเทศกาลประจำปีของชุมชน 

- ประเพณีบุญบั้งไฟ                            - ประเพณีแห่น้ำวันสงกรานต์                       
- ประเพณีงานบุญข้าวจี่                       - งานบุญเข้าพรรษาและออกพรรษา         
- ประเพณีบุญผะเหวด                         - ประเพณีงานวันลอยกระทง                 
- ประเพณีบุญคูณลาน(สู่ขวัญข้าว)       - ประเพณีจุดไฟตูมกา(ในวันออกพรรษา) 
-  กิจกรรมงานพาแลง( ปีใหม่-สงกรานต์ )                                   


ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมของหมู่บ้าน  
            ภูมิปัญญา ด้านเกษตรกรรม


      - ปลูกพืชสวน  , ผสมพันธ์โค ,ทำนาสาธิต ,ข้าวปลอดสาร


  
      - นายสมพงษ์    แก้วดวงใหญ่                 หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน


      - นายนิรันดร์      มาสขาว                       ประธานกลุ่มเกษตรกร ทำนาปลอดสารพิษ


           ภูมิปัญญาด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม


      - เนื่องด้วยชาวบ้านทุ่งแต้ทั้งหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเสริมในด้านหัตถกรรม จึงมีผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปคือ “มวยนึ่งข้าว”
              


           ภูมิปัญญา ด้านการแพทย์แผนไทย

  - นายม่อม              เนตรหาญ                  หมอนวดน้ำมันประจำหมู่บ้าน                                                                                                                                                                                                     - นางแดง              ปานหัตถา                   หมอนวดแผนไทย


         
  ภูมิปัญญา ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  - นายคณิตย์    อินธิรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งแต้  เป็นผู้นำในด้านการจัดการบริหารทรัพยากรแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน   ผืนป่าดงมะไฟป่าสงวน 

ปลูกป่าทดแทน


         
  ภูมิปัญญา ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน
      - นางพร  จันทร์เหลือง ประธานสหกรณ์ร้านค้าชุมชน


      - นายประเสริฐ     กุบแก้ว 


      - นายประไพร  แก้วคำจันทร์  ประธานกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนแห่งที่ 2


      - นางพร   จันทร์เหลือง            ประธานกลุ่มเงินล้าน


           ภูมิปัญญา ด้านศิลปกรรม
        - นายทองพูล        กุบแก้ว                      หมอแคน


        - นายหนูจิต          ศรีโพธิ์                      หมอแคน


        - นางสังขาล          บานดอน                 หมอลำกลอน


        - นางสุบรรณ        สมยงค์                     หมอลำกลอน


           ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม
        - นางสุภารัตน์      ศรีใสคำ  ผู้ประพันธ์กาพย์ กลอน สรภัญญ์
        - นางจรูญ             เนตรหาญ ประธานกลุ่มสรภัญญะ

        


           ภูมิปัญญา ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
        - พระมหาพละ ฐานงฺกโร เจ้าอาวาสวัดบูรพา บ้านทุ่งแต้
        - นายใบ           แก้วคำจันทร์ 

ข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นจุดเด่นและความภาคภูมิใจของชุมชน
-  มีผู้นำที่เสียสละ มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนาท้องถิ่นอย่างตั้งใจจริง
-  มีทุนทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
-  มีความสมัครสมานสามัคคีกันในชุมชน จึงทำให้กิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นและประสบความสำเร็จไป ด้วยดี

 


 

  
     


Copyright @ 2007, Design by:  Ictwatburapa.com