ICT SIPA Summer Camp 2010 ที่โคราช
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดบูรพา ตำบลทุ่งแต้ ได้นำนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมแข่งขันชิงชัยในโครงการ ICT SIPA Summer Camp 2010 ที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 6 คนดังนี้ระดับประถมได้แก่ 1ด.ช.วรายุทธ สีทา 2.ด.ญ.สุภัทรา เเสงสุวรรณ์ ระดับมัธยมต้น 1.ด.ช.อัจฉริยะ นิธิธรรมาโรจน์ 2.ด.ญ.สุมาลี สินธ์พันธ์ ระดับมัธยมปลาย 1.นางสาวสุภาภรณ์ มาสวันนา 2.นางสาวสุภัครินทร์ ก้อนมณี โดยการนำของนายเศกสรรค์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ก่อนเดินทางเข้าร่วมแข่งขันได้เดินทางเข้าชมปราสาทหินพิมาย และถึงโรงแรมดุสิตปริ้นเซส โคราชวันที่ 22 เม.ย.53 เวลา 15.00 น.
สำหรับการแข่งขันใช้สถานที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี โคราช เริ่มลงทะเบียนเวลา 08.00 น. ในวันที่ 23 เม.ย.53 โดยมีนายประพิศ นวมโคกสูง ที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ เป็นประธานเปิด และ นายธวัชชัย โคตรวงษ์ ผู้จัดการซิป้า ขอนแก่นเป็นผู้กล่าวรายงาน
สำหรับผลการแข่งขันประกาศเมื่อเวลา 16.00 น.ปรากฎว่า ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดบูรพา สามารถคว้ามาได้ 1 รางวัล คือ ด.ช.วรายุทธ สีทา ได้รับรางวัลที่ 1 ระดับประถม เงินรางวัลจำนวน 5000 บาท และจะได้เดินทางไปรับเกียรติบัตร พร้อมเหรียญทองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กรุงเทพฯในวันที่ 28 เม.ย.53 ในอันดับต่อไป
ปราสาทหินพิมาย
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการนั่นคือ ปราสาทหินพิมาย แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ ปราสาทหินพิมาย แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคด ด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่น ที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจาก เมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้ จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็น แบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมือง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน