ICTWATBURAPA.COM                                                                      ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดบูรพา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งที่ดีสู่ชุมชน                                                                                                                                                                                                                                         

 สถิติวันนี้ 15 คน
 สถิติเมื่อวาน 19 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
640 คน
9781 คน
130790 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

ประวัติ

  พระครูปริยัติพลากร


Link เครือข่าย

Fanpage:ศูนย์วัฒนธรรม      เฉลิมราชตำบลทุ่งแต้


       ห้องสมุดออนไลน์

เฉลิมราช


   โรงเรียนบ้านทุ่งแต้






  สินค้าโอท็อป    

มวยนึ่งข้าว



 



แหล่งน้ำ
น้ำ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก
แหล่งกำเนิดน้ำ
 ที่มาของน้ำนอกจากวัฎจักรของน้ำแล้ว น้ำยังมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆต่อไปนี้
1.น้ำฟ้า คือน้ำที่อยู่ในสภาวะต่างๆ แล้วตกลงยังโลก เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ
รวมทั้งน้ำค้างที่ตกลงมายังผิวดิน
2.น้ำผิวดิน เป็นน้ำที่ได้จากแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทะเล มหาสมุทร แหล่งน้ำเหล่านี้ไม่ใช่น้ำที่สะอาด มักมีสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ปะปนอยู่ น้ำผิวดินมักมีลักษณะขุ่นถึงแม้จะขจัดความขุ่นออกไปแล้วก็ตาม ก็ไม่ควรนำมาบริโภคเพราะไม่ปลอกภัย   เนื่องจากน้ำยังมีสารละลายบางอย่าง
ปะปนอยู่ เช่น แร่ธาตุ หินปูน สารเคมี เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการกรอง
หรือตกตะกอน
            3.น้ำใต้ดิน คือน้ำที่ไหลซึมผ่านไปตามช่องว่างของดินเหนือชั้นหิน ส่วนน้ำที่ซึมผ่านลงไปแทรกตัวอยู่ในชั้นของหิน เรียกว่า น้ำบาดาล
            น้ำใต้ดินมีทั้งระดับตื้น และระดับลึกระดับน้ำใต้ดินจะมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา
ตามฤดูกาล ถ้าฤดูฝนน้ำใต้ดินจะสูงขึ้น   ส่วนฤดูแล้งน้ำใต้ดินจะลดต่ำลง
             ไม่ว่าน้ำจะมาจากแหล่งกำเนิดใดก็ตาม น้ำเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ใช้น้ำจากแหล่งต่างๆ เพื่อการเกษตร การอุปโภค และบริโภค การคมนาคม 
และน้ำยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก
          แหล่งน้ำจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
            1. น้ำผิวดิน เป็นแหล่งน้ำที่พบมากที่สุด   ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง  ทะเล มหาสมุทร
เป็นน้ำที่อยู่ในดิน และแทรกตัวอยู่ระหว่างชั้นของหิน   ได้แก่ น้ำในดิน และน้ำบาดาล
 การเกิดน้ำใต้ดิน
เมื่อฝนตกลงสู่ดิน ดินจะดูดซับน้ำเอาไว้เมื่อดินอิ่มตัว ก็จะซึมลงไปในดินจนถึงชั้นของหิน
ซึ่งจะกั้นน้ำส่วนใหญ่ไม่ให้ซึมผ่านลงไปได้   ทำให้ดินเหนือชั้นหินเต็มไปด้วยน้ำเรารียกน้ำ ที่ซึมอยู่ในดิน
นี้ว่าน้ำในดิน และเรียกระดับน้ำตอนบนสุดของน้ำในดินว่า ระดับน้ำในดิน
ระดับน้ำในดินแต่ละแห่งจะอยู่ลึกจากผิวดินไม่เท่ากัน ระดับน้ำในดินจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสภาพภูมิประเทศ ถ้าเป็นฤดูแล้งระดับน้ำจะอยู่ต่ำ
ถ้าระดับน้ำในดินมีมาก   น้ำส่วนที่เหลือจากการดูดซับไว้จะไหลซึมต่อลงไปอีก โดยผ่าน
ชั้นของหินแล้วขึงอยู่ระหว่างชั้นของหินเราเรียกว่า น้ำบาดาล  ระดับน้ำบาดาลมีการเปลี่ยนแปลง
ตามฤดูกาล เช่นกัน แต่การเปลี่ยนแปลงจะไม่รวดเร็วเหมือนน้ำในแม่น้ำลำคลอง   ระดับน้ำบาดาล
จะเปลี่ยนแปลงช้าเพราะน้ำบาดาลขังอยู่ในชั้นของหินซึ่งน้ำซึมผ่านได้อยาก
ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร บริเวณเขตพระโขนง และบางกระปิ ห้วยขวาง บางเขน พื้นที่พระปะแดง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทรุดตัวของแผ่นดินมากกว่า
ปีละ 10 เซนติเมตร  เนื่องจากบริเวณนี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรรได้สูบน้ำบาดาล
ขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก
 
 
...............................................
 
 
 
 
ดิน 
ดินแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ      
  
ดินเหนียว เป็นดินที่มีดินเนื้อละเอียดเม็ดดินเกาะกันแน่น ดินเหนี่ยวไม่เหมาะ
แก่การปลูกพืชโดยทั่วไป เพราะน้ำซึมผ่านได้ยาก เนื้อดินแน่นรากของพืชชอนไชหาอาหารได้ยาก 
เวลาแห้งเนื้อดินจะแข็งมาก ขุดหรือทุบให้ละเอียดได้ยาก จึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ดินเหนียว
ก็ยังมีประโยชน์อย่งอื่นอีกมากมาย เช่น นำมาใช้มาทำเครื่องปั้นดินเผากระถาง แจกัน ปั้นโอ่ง
และปั้นเป็นก้อนอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย   ใช้ทำกระเบื้องมุงหลังคา   ปั้นแบบพิมพิ์
ในงานหล่อรูปต่างๆ  
           
ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินร่วนซุย เนื้อดินโปร่งอากาศถ่ายเทได้ง่าย เนื่องจากมีซากพืชซากสัตว์ปะปนอยู่มาก เป็นดินที่เหมาะแก่การเพราะปลูกเนื่องจากมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
ของพืชปะปนอยู่มาก  เนื้อดินซุยรากของพืชชอนไชหาอาหารได้ง่ายอุ้มน้ำได้ดีพอสมควร เหมาะแก่การเพราะปลูกอย่างยิ่ง
ดินทราย เป็นดินที่มีปริมาณทรายปะปนอยู่จำนวนมากประมาณร้อยละ 70   มีลักษณะเนื้อดินหยาบเม็ดดินมีขนาดใหญ่ มีการยึดเกาะกันระหว่างเม็ดดินแบบหลวมๆ อุ้มน้ำได้ไม่ดี ไม่เหมาะแก่การ
ปลูกพืชโดยทั่วไป เป็นดินที่ไม่ค่อยมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงไม่เหมาะแก่การเพราะปลูก  แต่ดินทรายก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ใช้รองพื้นในการก่อสร้าง ใช้ผสมปูนซีเมนต์
ในการก่อสร้างเป็นต้น
 
 
...................................................
 
  
     


Copyright @ 2007, Design by:  Ictwatburapa.com